pic
บุคลากร

  • ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากาญจนบุรี
  • นางสาวพรพิมล   ภุมรินทร์ นางสาวพรพิมล ภุมรินทร์
    ครู คศ.3
  • นางสาวสมพิศ  ไชยกิจ นางสาวสมพิศ ไชยกิจ
    ครู คศ.2
  • นายณัฐนุกรณ์ ใจสิงห์ นายณัฐนุกรณ์ ใจสิงห์
    ครูผู้ช่วย
  • นางสาวอาพิศรา  ดวงธนู นางสาวอาพิศรา ดวงธนู
    ครูผู้ช่วย
  • นายธนากิตต์ ชำพาลี นายธนากิตต์ ชำพาลี
    นายช่างไฟฟ้า
  • นางสาวจีรวรรณ   ภิญโญ นางสาวจีรวรรณ ภิญโญ
    นักวิชาการพัสดุ
  • นางวีณา  วรรณายก นางวีณา วรรณายก
    นักวิชาการศึกษา
  • นางสาวอณัญญา  บุญเลิศ นางสาวอณัญญา บุญเลิศ
    นักวิชาการศึกษา
  • นางกนกวรรณ เปี่ยมสกุล นางกนกวรรณ เปี่ยมสกุล
    นักวิชาการการเงินและบัญชี
  • นางพานนิตตา  นิลประดับ นางพานนิตตา นิลประดับ
    เจ้าพนักงานธุรการ
  • นางสาววรัญช์รัตน์ เวสสุวรรณ์ นางสาววรัญช์รัตน์ เวสสุวรรณ์
    นักจัดการงานทั่วไป
  • นางสาวทิพาพร กลับทอง นางสาวทิพาพร กลับทอง
    นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
  • นางดรุณี  ใบบัว นางดรุณี ใบบัว
    นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา
  • นางสาววรรณผกา สถาปิตานนท์ นางสาววรรณผกา สถาปิตานนท์
    นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา
  • นางสาวพัชรพร  คุณฑี นางสาวพัชรพร คุณฑี
    นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา
  • นายพิชนนท์ ศรีเมือง นายพิชนนท์ ศรีเมือง
    นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา
  • นายกิตติพงษ์ เณรจาที นายกิตติพงษ์ เณรจาที
    นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา
  • นางสาวเหมือนฝัน เหมพันธ์ นางสาวเหมือนฝัน เหมพันธ์
    นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา
  • นายสมชาย  อนันตเดโชชัย นายสมชาย อนันตเดโชชัย
    พนักงานขับรถยนต์
  • นายจิรภัทร  สิงหรา นายจิรภัทร สิงหรา
    เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
  • นายเถลิงศักดิ์  หมื่นสะเกิดดี นายเถลิงศักดิ์ หมื่นสะเกิดดี
    เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

  • พนักงานบริการ

  • พนักงานบริการ

  • พนักงานบริการ

หมวดภาพกิจกรรม
ทั้งหมด (196)
ค่ายวิทยาศาสตร์ฯ (46)
นอกสถานที่ (71)
โครงการ (48)
ไม่มีหมวดหมู่ (31)
กิจกรรมล่าสุด
ศว. กาญจนบุรี เข้าร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่และคลีนิกมหาดไทย ครั้งที่ 9.html ศว. กาญจนบุรี เข้าร่วมโครงการจังหวั
 ศว. กาญจนบุรี จัดทำสเปรย์แอลกอฮอล์และเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ และมอบให้แก่ นายประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.html ศว. กาญจนบุรี จัดทำสเปรย์แอลกอฮอล์
ศว.กาญจนบุรี จัดทำสเปรย์แอลกอฮอล์ เจลแอลกอฮอล์ สำหรับล้างมือ อุปกรณ์กดแอลกอฮอล์เจล แบบใช้เท้าเหยียบและมอบให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยาง.html ศว.กาญจนบุรี จัดทำสเปรย์แอลกอฮอล์ เ
เฟสบุ๊ค
เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
 
๑. ชื่อสถานศึกษา        ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากาญจนบุรี    อักษรย่อ    ศว.กจ.

๒. ที่ตั้ง     เลขที่  ๑๒  หมู่  ๑ บ้านลิ้นช้าง   ตำบลปากแพรก   อำเภอเมืองกาญจนบุรี 
               จังหวัดกาญจนบุรี   ๗๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๔๖๐-๒๖๒๘-๓๐    โทรสาร ๐-๓๔๖๐-๒๖๒๘-๓๐     
               Website : http://www.kansci1.com      E-mail : kansci@hotmail.com

๓. สังกัด   สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย   
                สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการ

๔.  ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
            ๔.๑  ประวัติสถานศึกษา
                   ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากาญจนบุรี เป็นสถานศึกษาสังกัด  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๗
                  โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน (สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบัน) เป็นผู้รับผิดชอบ  กระทรวงศึกษาธิการ ขยายเครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาค อาคารที่ทำการของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี  เป็นอาคาร ๒ ชั้น  ขนาดกว้าง ๒๔ เมตร  ยาว ๓๒  เมตร บนพื้นที่ประมาณ ๘ ไร่ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๕ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากาญจนบุรี ตามประกาศสถาน ที่ตั้งเลขที่ ๑๒ หมู่ ๑ บ้านลิ้นช้าง ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ๗๑๐๐๐

ตราสัญลักษณ์ (LOGO)


              ได้แนวคิดมาจากสูตรเคมีที่เราเรียนกันและใช้สีสามสีแทนองค์ความรู้ ซึ่งหมายถึง วิทยาศาสตร์ทั้งสามแขนง คือ ฟิสิกส์ (สีแดง) เคมี (สีเหลือง)   ชีววิทยา (สีเขียว) อีกนัยหนึ่ง  มีความหมายเป็นรังผึ้งความเป็นองค์กรที่มีความสามัคคีและพร้อมที่จะพัฒนาองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ส่วนแกนกลางเป็นรูปอะตอม แทนความเป็นวิทยาศาสตร์ทุกแขนงและมีลูกอะตอมเม็ดดำ แทนความเข้มข้นของอะตอมนั้น

รูปแบบสัญลักษณ์ (MASCOT)



            “เจ้าหนูนักวิทยาศาสตร์” เกิดจากการให้ความสำคัญกับการสร้างระบบความคิด เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นโดยวิทยาศาสตร์ มีลักษณะคล้ายมนุษย์ เขาเป็นเด็กช่างสงสัย รู้จักสังเกต มีความอยากรู้อยากเห็น และต้องการค้นหาคำตอบอยู่ตลอดเวลา    “เจ้าหนูนักวิทยาศาสตร์” จึงเป็นเสมือนทูตแห่งวิทยาศาสตร์ ที่จะนำพาทุกคนไปรู้จักโลกของวิทยาศาสตร์

ปรัชญา       “สร้างระบบคิด  ปลูกจิตวิทยาศาสตร์

คำขวัญ       “จุดประกายความคิด  พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์”

วิสัยทัศน์     “จะพัฒนากิจกรรมให้ทันสมัย  ผู้รับบริการพึงพอใจ  บุคลากรภายในมีความสุข”


อัตลักษณ์    “มีความสุข สนุกด้วยวิทยาศาสตร์”

เอกลักษณ์    “แหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ตลอดชีวิต”


พันธกิจ 
               ๑. จัดและให้บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม แก่ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน(AC)
               ๒. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย  ในการดำเนินงานการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
               ๓. ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนารูปแบบกิจกรรม หลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
               ๔. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตของชุมชนพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าประสงค์
               ๑. ผู้รับบริการได้รับความรู้เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์  ตลอดจนมีความพึงพอใจในการรับบริการ
              ๒. มีองค์กรภาคส่วนต่างๆ ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
              ๓. มีงานวิจัย หลักสูตร สื่อ นิทรรศการ และรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่หลากหลายทันสมัยและมีคุณภาพพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน(AC)
              ๔. ชุมชนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
              ๕. มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ
             ๑.  จำนวนผู้รับบริการ
             ๒. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ
             ๓. ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้ ทักษะ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์
             ๔.  จำนวนภาคีเครือข่าย
             ๕.  จำนวนโปรแกรมการเรียนรู้ หลักสูตร สื่อรูปแบบกิจกรรม ผลงานวิจัย  และนวัตกรรม
             ๖. จำนวนชุมชนที่ได้รับความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์
             ๗. จำนวนบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา
             ๘. จำนวนระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ
             ๙. หน่วยงานผ่านการประเมินคุณภาพ
             ๑๐. ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุง


เว็บตรง